คัดลอกมาจาก:
นิตยสารหมอชาวบ้าน 43
พฤศจิกายน 1982
ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์
การตรวจทรวงอกด้วยการใช้เครื่องฟัง (stehoscope) มักจะใช้ฟังเสียงที่เกิดจากการหายใจ และเสียงที่เกิดจากหัวใจเต้น
เสียงที่เกิดจากการหายใจอาจจะแบ่งออกเป็น
ก.เสียงหายใจ
ข.เสียงพูดหรือเสียงกระซิบ
ค.เสียงอื่น ๆ
ก.เสียงหายใจ ที่ได้ยินอาจจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
ก.1 เสียงถุงลม (vesicular breath sound)
เป็นเสียงที่ได้ยินจากบริเวณส่วนใหญ่ของทรวงอก ในขณะที่เสียงอีก 2 ชนิด ได้ยินในบริเวณแคบ ๆเล็ก ๆ ของทรวงอกเท่านั้น(ดูรูปที่1)ก.2 เสียงหลอดลมถุงลม(broncho-vesicular breath sound)
เป็นเสียงที่มีลักษณะระหว่างเสียงถุงลมกับเสียงหลอดลมซึ่งได้ยินในบริเวณส่วนกลางของทรวงอกด้านบน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง(ดูรูปที่1)ก.3 เสียงหลอดลม (bronchial or tracheal breath sound)
เป็นเสียงที่มีลักษณะเสียงต่างจากเสียงถุงลมมาก และได้ยินในบริเวณคอด้านหน้า และด้านหลังเท่านั้น(ดูรูปที่ 1)
เสียงหลอดลมถุงลม มีลักษณะเป็นเสียงผสมระหว่างเสียงถุงลมกับเสียงหลอดลม ทำให้มีลักษณะเสียงได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าเสียงนั้นเกิดจากหลอดลมมากหรือเกิดจากถุงลมมาก
เสียงหลอดลม ซึ่งฟังที่บริเวณคอ จะดังและชัดกว่าเสียงถุงลมและเสียงหลอดลมถุงลม เสียงหลอดลมในขณะหายใจเข้า จะค่อยกว่าและสั้นกว่า ในขณะหายใจออกและมักจะมีช่องว่าง (ไม่มีเสียงหายใจให้ได้ยิน) ในตอนสุดของการหายใจเข้าและตอนต้นของการหายใจออก
การฟังเสียงหายใจ ควรฟังในขณะที่ผู้ถูกตรวจหายใจเข้าออกแรง ๆ ทางปาก(อ้าปากหายใจ)จะทำให้ได้ยินเสียงหายใจจากปอดและหลอดลมชัดเจนขึ้น และไม่มีเสียงกวนจากรูจมูก ที่ตีบจากการคัดจมูก หรืออื่น ๆ มาแทรกอยู่
ในบางกรณี ที่คนไข้ไม่ยอมหายใจลึก ๆ แรง ๆ เช่นในเด็กหรือในผู้ใหญ่บางคน การทำให้เด็กร้องไห้ หรือการสั่งให้ไอ แล้วฟังตอนช่วงที่เขาต้องหายใจเข้า (ซึ่งเขาจะต้องหยุดร้องไห้และหยุดไอ) ก็จะฟังเสียงหายใจเข้าที่ลึกและแรงได้
ควรฝึกฟังเสียงหายใจเปรียบเทียบระหว่างปอดสองข้าง ใจตำแหน่งเดียวกัน(ดูรูปที่ 3) เพื่อจะเคยชินกับความแตกต่าง(ซึ่งมีน้อยมาก) ระหว่างเสียงหายใจของปอดสองข้างที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน
ควรฝึกฟังเสียงหายใจในบริเวณต่าง ๆ ของทรวงอกของตนเอง หรือของญาติพี่น้องเป็นประจำจะทำให้ชินกับเสียงหายใจที่ปกติเมื่อได้ยินเสียงผิดปกติ จะได้รู้ว่าเป็นเสียงผิดปกติ
เสียงหายใจที่ผิดปกติ ที่พบบ่อยเช่น
1.เสียงถุงลมที่ดังมากกว่าปกติ มักพบในคนที่ผนังอกบาง เช่น เด็ก,คนผอม, ในขณะออกกำลังกาย ทำให้หายใจแรงและลึก, ในปอดส่วนที่ทำงานเพิ่มขึ้นแทนปอดอีกส่วนหนึ่งที่เสื่อมไป เช่น ถ้าปอดข้างซ้ายเป็นปอดบวม ปอดข้างขวาจะทำหน้าที่มากขึ้น ทำให้เสียงถุงลมในปอดข้างขวาดังมากขึ้น
2.เสียงถุงลมที่ดังน้อยกว่าปกติ
ถ้าดังน้อยกว่าปกติ ทั่วไปทั้ง 2 ข้าง มักพบใน
2.1 คนที่ผนังอกหนา
2.2 คนสูงอายุ
2.3 คนที่หายใจเบา ๆ เพราะหายใจแรงๆ ลึก ๆ ไม่ได้ เนื่องจากเจ็บผนังอกจากผนังอักเสบ เป็นฝี ถูกกระแทก ซี่โครงหัก กล้ามเนื้อซี่โครงเป็นอัมพาต ท้องโตมาจากน้ำ (ท้องมาน) จากไขมัน(คนอ้วนมาก ๆ) ทำให้ปอดขยายตัวไม่ได้ดี เป็นต้น
2.4 คนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง ทั้งสองข้าง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง (pulmonary emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronicbronchitis) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่เรื้อรัง
2.5 คนที่หายใจเข้าออกลำบาก จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคคอตีบ หายใจเข้าออกทางจมูกที่ตีบคัด(คัดจมูก) หลอดลมคอตีบ(trachealstenosis) ซึ่งมักเกิดจากการเจาะคอเพื่อช่วยหายใจ เป็นต้น
เสียงถุงลมที่ดังน้อยกว่าปกติเฉพาะแห่ง นั่นคือ เฉพาปอดส่วนใดส่วนหนึ่ง จะเป็นปอดส่วนบน ส่วนกลางหรือส่วนล่าง ข้างซ้าย หรือข้างขวา เป็นต้น
ถ้าเสียงถุงลมดังน้อยกว่าปกติเฉพาะแห่ง (เฉพาะบางส่วน) มักเกิดจาก...
2.6 ปอดส่วนนั้นผิดปกติเช่น ปอดอักเสบ (pneumonitis) ปอดบวม (pneumonia)ปอดแฟบ (atelectasis) เป็นฝีในปอด (lung abscess) เป็นต้น ปอดผิดปกติเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เสียงถุงลมดังค่อยแล้ว อาจจะทำให้เสียงถุงลมเปลี่ยนเป็นเสียงหลอดลมถุงลม หรือเสียงหลอดลมได้
ดังนั้น ถ้าฟังเสียงหลอดลมถุงลมหรือเสียงหลอดลมได้ในบริเวณส่วนอื่นของทรวงอก นอกจากบริเวณที่ได้ยินตามปกติ (ดูรูปที่ 1) ให้นึกถึง ภาวะปอดอักเสบ-ปอดแข็ง-ปอดแฟบในบริเวณนั้นด้วย
ภาวะปอดอักเสบ-ปอดบวม มักจะร่วมด้วยการไข้ (ตัวร้อน) ไอและมีเสมหะด้วย
2.7 โพรงเยื่อหุ้มปอด หรือเยื่อหุ้มปอดบริเวณนั้นผิดปกติ เช่นโพรงเยื่อหุ้มปอดมีลม (pneumothorax) มีน้ำ (hydrothorax)มีหนอง (pyothorax)มีเลือด (hemothorax) หรือ เยื่อหุ้มปอดเป็นพังผืดหนา (pleural thickening) เป็นสาเหตุที่พบบ่อย ที่ทำให้เสียงถุงลม เสียงพูด เสียงกระซิบ ในบริเวณนั้นค่อยกว่าปกติ หรือไม่ได้ยินเลย
2.8 หลอดลมบริเวณนั้นตีบหรือตัน เช่น เพราะมีเสมหะ เนื้องอก หรือมะเร็งไปอุดทำให้ลมหายใจเข้าออกผ่านหลอดลมบริเวณนั้นลำบาก เสียงหายใจ(เสียงถุงลม) ในบริเวณนั้นจึงค่อยลง หรือหมดไป
3.เสียงเปรี๊ยะ ( rales หรือ crepitations)
เป็นเสียงเปรี๊ยะ ๆ ที่มักได้ยินช่วงสุดท้ายของการหายใจเข้าเกิดจากหลอดลมอักเสบและมีเสมหะหรือน้ำ อยู่ในหลอดลม(ดูรูปที่ 4) อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
3.1 เสียงเปรี๊ยะหยาบ (coarse crepitations)
เป็นเสียงเปรี๊ยะที่ดังและหยาบที่สุด ส่วนมากเกิดจากการมีเสมหะหรือน้ำในหลอดลมใหญ่ ๆ ถ้าดัง
มาก ๆ อาจได้ยินเสียงนี้ เมื่อยืนหรือนั่งอยู่ข้างๆ คนไข้ ที่เรียกว่า เสียงจมน้ำ(bubbing rales หรือ bubbling crepitations) ดูหมอชาวบ้านฉบับก่อน ในเรื่องการตรวจทรวงอกโดยการฟังที่ไม่ต้องใช้เครื่องฟัง เสียงเปรี้ยะหยาบ ๆ ในกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เสียงจมน้ำ มักพบได้ในคนสูงอายุ ที่หลอมลมเริ่มแข็งตัวมากกว่าปกติหรือมีเสมหะในหลอดลมใหญ่ ๆ ในกรณีหลังนี้ ถ้าให้คนไข้ไอสัก 2-3 ครั้ง เสียงเปรี๊ยะที่ได้ยิน อาจจะลดลงหรือหายไป
3.2 เสียงเปรี๊ยะปานกลาง (medium crepitations)
เป็นเสียงเปรี๊ยะที่ดังและหยาบปานกลาง ส่วนมากเกิดจากการมีเสมหะหรือน้ำในหลอดลมขนาดกลาง ซึ่งมักจะมีการอักเสบร่วมด้วย จึงพบเสียงนี้ในบริเวณปอดที่อักเสบ บวม หรือ แฟบ หรือหลอดลมโป่ง (bronchiectasis) วัณโรคปอด ปอดเป็นฝี หรืออื่น ๆ
3.3 เสียงเปรี๊ยะละเอียด (fine crepitations)
เป็นเสียวเปรี๊ยะที่ค่อยและละเอียดกว่า 2 ชนิดข้างต้น ส่วนมากเกิดจากการมีน้ำในหลอดลมเล็กๆ จึงมักพบเสียงนี้ในบริเวณปอดส่วนที่อยู่ต่ำ เช่น ปอดส่วนล่างด้านหลัง ในท่านอนหัวสูง หรือ ปอดส่วล่าง (บริเวณชายโครง หรือ เหนือชายโครง) ถ้าได้ยินเสียงเปรี๊ยะละเอียดในบริเวณดังกล่าวนึกถึง ภาวะหัวใจล้ม โดยเฉพาะถ้าคนไข้มีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย (ดูรายละเอียดเรื่อง “ภาวะหัวใจล้ม” ในเรื่องโรคหัวใจ ในหมอชาวบ้าน ประจำเดือนสิงหาคม 2525)เสียงเปรี๊ยะที่หายไป หลังจากคนไข้ไอสัก 2-3 ครั้ง แสดงว่าเสียงนั้น มักเกิดจากเสมหะหรือน้ำเล็ก ๆ น้อยๆ ในหลอดลม และไม่ค่อยมีความสำคัญเท่ากับเสียงเปรี๊ยะที่ยังคงอยู่หรือดังขึ้น หลังจากคนไข้ไอแล้ว
4. เสียงกรอกแกรก (sonorous rhonchi)
เป็นเสียงที่คล้ายเสียงเปรี๊ยะแต่เบากว่า และไม่คมชัดเท่าเสียงเปรี๊ยะ และมักได้ยินในขณะหายใจออกมากกว่าในขณะหายใจเข้า แต่อาจได้ยินทั้งขณะหายใจเข้าและออกก็ได้ เสียงกรอกแกรก เกิดจากลมหายใจวิ่งผ่านหลอดลมที่ขรุขระด้วยการอักเสบ หรือมีเสมหะเหนียว ๆ ติดอยู่เป็นหย่อม ๆ
เป็นเสียงที่คล้ายเสียงเปรี๊ยะแต่เบากว่า และไม่คมชัดเท่าเสียงเปรี๊ยะ และมักได้ยินในขณะหายใจออกมากกว่าในขณะหายใจเข้า แต่อาจได้ยินทั้งขณะหายใจเข้าและออกก็ได้ เสียงกรอกแกรก เกิดจากลมหายใจวิ่งผ่านหลอดลมที่ขรุขระด้วยการอักเสบ หรือมีเสมหะเหนียว ๆ ติดอยู่เป็นหย่อม ๆ
5. เสียงฮื้ดหรือ เสียงหวีด ( wheeze หรือ sibilant rhonchi)
เป็นเสียงที่อาจได้ยินโดยไม่ต้องใช้เครื่องฟัง เป็นเสียงหายใจที่มีลักษณะฮื้ด ๆ หรือ วี้ด ๆ มักจะได้ยินในขณะหายเข้า แต่อาจได้ยินทั้งในขณะหายใจเข้าและออกก็ได้ เสียงฮื้ดหรือเสียงวี้ดนี้ เกิดจากหลอดลมตีบมาก จึงเกิดเสียงนี้ขึ้น
ถ้าได้ยินเสียงฮื้ดหรือวี้ดนี้โดยทั่วไปในปอดทั้ง 2 ข้าง ให้นึกถึงโรคหอบหืด โรคหลอมลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดบวมน้ำฉับพลันหรือภาวะหัวใจล้ม ซึ่งในทั้ง 3 โรคนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย
ถ้าได้ยินเสียงฮื้ดหรือวี้ดนี้ เฉพาะในบริเวณทรวงอกส่วนเล็ก ๆ ส่วนเดียวและเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอด ไม่ว่าหลังไอ หรือหลังหายใจแรงๆ ลึก ๆ ให้สงสัยว่า หลอดลมที่มาสู่ปอดบริเวณนั้นตีบแคบเพราะเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือบางครั้งจากพังผืดด้วย
เป็นเสียงที่อาจได้ยินโดยไม่ต้องใช้เครื่องฟัง เป็นเสียงหายใจที่มีลักษณะฮื้ด ๆ หรือ วี้ด ๆ มักจะได้ยินในขณะหายเข้า แต่อาจได้ยินทั้งในขณะหายใจเข้าและออกก็ได้ เสียงฮื้ดหรือเสียงวี้ดนี้ เกิดจากหลอดลมตีบมาก จึงเกิดเสียงนี้ขึ้น
ถ้าได้ยินเสียงฮื้ดหรือวี้ดนี้โดยทั่วไปในปอดทั้ง 2 ข้าง ให้นึกถึงโรคหอบหืด โรคหลอมลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดบวมน้ำฉับพลันหรือภาวะหัวใจล้ม ซึ่งในทั้ง 3 โรคนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย
ถ้าได้ยินเสียงฮื้ดหรือวี้ดนี้ เฉพาะในบริเวณทรวงอกส่วนเล็ก ๆ ส่วนเดียวและเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอด ไม่ว่าหลังไอ หรือหลังหายใจแรงๆ ลึก ๆ ให้สงสัยว่า หลอดลมที่มาสู่ปอดบริเวณนั้นตีบแคบเพราะเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือบางครั้งจากพังผืดด้วย
6.เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด (pleural friction rub)
เป็นเสียงที่เกิดจากการเสียดสีของเยื่อหุ้มปอดที่ขรุขระจากการอักเสบ ในคนปกติ เยื่อหุ้มปอดจะเสียดสีกันตลอดเวลา แต่ไม่มีเสียงเพราะเยื่อหุ้มปอดนั้นเรียบ และมีน้ำหล่อลื่นอยู่
เมื่อเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดจะขรุขระ จึงทำให้เกิดเสียงเสียดสี (friction rub) ขึ้น เสียงเสียดสีนี้พอจะฝึกฟังได้ โดยใช้ปลายนิ้วชี้แห้งถูที่ติ่งหูไปมา จะได้ยินเสียงที่คล้ายเสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด
หรือใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งปิดหูข้างหนึ่งไว้ แล้วใช้นิ้วของมืออีกข้างหนึ่งถูไปมาบนหลังมือของฝ่ามือข้างที่ปิดหูไว้ จะได้ยินเสียงคล้ายเสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด
เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอดมักได้ยินชัดบริเวณทรวงอกด้านข้างโดยเฉพาะใต้รักแร้ แต่จะได้ยินในบริเวณส่วนหนึ่งส่วนใดของทรวงอกก็ได้
เป็นเสียงที่เกิดจากการเสียดสีของเยื่อหุ้มปอดที่ขรุขระจากการอักเสบ ในคนปกติ เยื่อหุ้มปอดจะเสียดสีกันตลอดเวลา แต่ไม่มีเสียงเพราะเยื่อหุ้มปอดนั้นเรียบ และมีน้ำหล่อลื่นอยู่
เมื่อเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดจะขรุขระ จึงทำให้เกิดเสียงเสียดสี (friction rub) ขึ้น เสียงเสียดสีนี้พอจะฝึกฟังได้ โดยใช้ปลายนิ้วชี้แห้งถูที่ติ่งหูไปมา จะได้ยินเสียงที่คล้ายเสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด
หรือใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งปิดหูข้างหนึ่งไว้ แล้วใช้นิ้วของมืออีกข้างหนึ่งถูไปมาบนหลังมือของฝ่ามือข้างที่ปิดหูไว้ จะได้ยินเสียงคล้ายเสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด
เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอดมักได้ยินชัดบริเวณทรวงอกด้านข้างโดยเฉพาะใต้รักแร้ แต่จะได้ยินในบริเวณส่วนหนึ่งส่วนใดของทรวงอกก็ได้
7. เสียงเสมหะ (secretion sounds)
เป็นเสียงครืดคราด ๆ ที่ดังในขณะคนไข้หายเข้าออก เมื่อคนไข้หายแรง ๆลึกๆ หรือไอ เสียงครืดคราดนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะเสมหะที่อยู่ในหลอดลมใหญ่ถูกไอออกหรือถูกไอจนเปลี่ยนที่ไป
เป็นเสียงครืดคราด ๆ ที่ดังในขณะคนไข้หายเข้าออก เมื่อคนไข้หายแรง ๆลึกๆ หรือไอ เสียงครืดคราดนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะเสมหะที่อยู่ในหลอดลมใหญ่ถูกไอออกหรือถูกไอจนเปลี่ยนที่ไป
8. เสียงจากจมูก ปาก และคอ (transmitted sounds)
เป็นเสียงแปลก ๆ ที่ผ่านลงมาจากรูจมูกที่ตีบแคบ จากปาก หรือจากคอ ไม่ใช่เสียงที่เกิดจากความผิดปกติในปอดหรือหลอดลม
เป็นเสียงแปลก ๆ ที่ผ่านลงมาจากรูจมูกที่ตีบแคบ จากปาก หรือจากคอ ไม่ใช่เสียงที่เกิดจากความผิดปกติในปอดหรือหลอดลม
9.เสียงหายใจผิดปกติแบบอื่น ๆ ซึ่งพบน้อย เช่น
9.1 เสียงขาดเป็นห้วง ๆ (cogwheel sounds)
ซึ่งมักเกิดในขณะหายใจเข้า (ดูรูปที่ 5) แต่อาจเกิดใจขณะหายใจออกก็ได้ มักเกิดบริเวณยอดอก (ทรวงอกเหนือไหปลาร้าและเหนือสะบัก) จากเยื่อหุ้มปอดเป็นพังผืด หรือวัณโรคปอด บางครั้งได้ยินทั่วไป จากอาการหนาวสั่น อาการทางจิต (โรคประสาท) หรือภาวะอ่อนเพลียมาก ๆ
9.2 เสียงหลายลักษณะ (metamorphosing sounds)
คือเสียงหายใจที่มีหลายลักษณะในขณะหายใจเข้าหรือออก เกิดจากการเปิดหรือปิดตัวของหลอมลม หรือการเคลื่อนไหวของเสมหะ ทำให้หลอดลมเปิดหรือปิดตัว (ดูรูปที่ 5)
9.3 เสียงระฆัง (metallic tinkle)
คือเสียงคล้ายเสียงระฆังเบา ๆ ในขณะหายใจเข้าหรือออก อาจพบในคนไข้ที่มีลมและน้ำหรือหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pneumohydrothorax หรือ pneumopyothorax)
หรือคนที่ปอดเป็นฝีใหญ่ ๆที่มีลมและหนองในฝีนั้น เข้าใจว่าเสียงนี้เกิดจาก ลมลอยตัวปุด ๆ ผ่านน้ำหรือหนองทำให้เกิดเสียงระฆังขึ้น
9.4 เสียงโพรง (cavernous หรือ amphoric sounds)
เป็นเสียงคล้ายเสียงเป่าลมผ่านสิ่งกลวงใหญ่ ๆ อาจพบได้ในปอดบริเวณที่เป็นโพรงใหญ่ หรือในรายที่มีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด
ข.เสียงพูดหรือเสียงกระซิบ (voice sounds) อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
ข.1 เสียงกระซิบ (whispered voice)
ให้คนใข้กระซิบ “หนึ่ง สอง สาม” (แต่ไม่ใช่พึมพำ หรือพูดเสียงเบาๆ ) แล้วฟังด้วยเครื่องฟัง จะได้ยินเสียงกระซิบเฉพาะที่บริเวณคอ, บริเวณทรวงอกเท่านั้นในคนปกติ ส่วนอื่นจะไม่ได้ยินเสียงกระซิบที่ได้ยินก็ไม่ชัดเจนและบอกไม่ได้ว่า คนไข้กระซิบว่าอะไร
ถ้าได้ยินเสียงกะซิบนี้ในบริเวณอื่น โดยเฉพาะถ้าเสียงกระซิบนี้ดังชัดเจนหรือก้องและนานกว่าปกติ จะเป็นเสียงกระซิบผิดปกติ (whispered pectoriloquy หรือ bronchial whispers) แสดงว่าปอดส่วนนั้นอักเสบ แข็ง หรือแฟบ และถ้าได้ยินเสียงระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง ตรงส่วนบน อาจสงสัยว่า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลอดลมคอและหลอดลมใหญ่โต แต่ในเด็กปกติบางคน ก็อาจได้ยินเสียงนี้ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างได้
เสียงกระซิบนี้มีประโยชน์กว่าเสียงหายใจเข้าออกแรงๆ เพราะสามารถวินิจฉัยปอดที่อักเสบ- แข็ง- หรือแฟบ ได้ดีกว่าเสียงหายใจ แม้ว่าปอดที่อักเสบ แข็ง หรือแฟบ นั้นจะมีขนาดเล็กกว่า
นอกจากนั้น คนไข้ที่ไม่สามารถหายใจเข้าออกแรง ๆ ลึก ๆ ได้เพราะอ่อนเพลีย เจ็บหน้าอกหรืออื่น ๆ ก็สามารถกระซิบได้ เพราะการกระซิบจะใช้แรงน้อยกว่าการหายใจเข้าออกแรง ๆ
ข.2 เสียงพูดธรรมดา (spoken voice หรือ vocal resonance)
ให้คนไข้พูดเสียงดังพอประมาณ เช่น ให้นับ “หนึ่ง- สอง- สาม ” แล้วฟังด้วยเครื่องฟังที่บริเวณทรวงอก เสียงนี้จะได้ยินชัดสุดบริเวณคอ รองลงไปคือบริเวณทรวงอกส่วนบนทั้งด้านหน้าและหลัง ถัดไปคือ ทรวงอกบริเวณอื่น ๆ แต่ที่ชายโครง(ทรวงอกด้านล่าง) จะได้ยินเสียงค่อยมาก
ถ้าได้ยินเสียงพูดนี้ดังกว่าปกติ ( pectoriloquy หรือ bronchophony หรือ egophony) จนก้องหู หรือใกล้หู จะแสดงว่าปอดส่วนนั้นอักเสบ-แข็ง-หรือแฟบ
ถ้าไม่ได้ยินเสียงพูดนี้ หรือเสียงพูดนี้ค่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปอดอีกข้างหนึ่งในตำแหน่งเดียวกัน มักแสดงว่ามีลม น้ำ หนอง หรือเลือดในโพรงเยื่อหุ้มปอดข้างนั้นหรือเยื่อหุ้มปอดบริเวณนั้นหนา หรือ หลอดลมที่นำลม (นำเสียง) ไปสู่ปอดบริเวณนั้นถูกอุดกั้น
ในการหาบริเวณปอดที่อักเสบ-แข็ง-หรือแฟบ การใช้เสียงกระซิบ จะดีกว่าเสียงพูด
ค.เสียงอื่น ๆ เช่น
ค.1 เสียงกระฉอก (succussion sounds)
เป็นเสียงที่เกิดจากมีลมและน้ำอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือในโพรงฝีใหญ่ ๆ เมื่อจับตัวคนไข้เขย่า ก็จะได้ยินเสียงเหมือนเสียงเขย่าขวด ที่มีน้ำและลมอยู่ด้วยกัน
เสียงนี้ อาจเป็นเสียงน้ำและลมในกระเพาะอาหาร ที่ส่งเสียงกระฉอกผ่านขึ้นไปมาในทรวงอกอาจจะไม่ใช่ความผิดปกติในทรวงอกก็ได้
ค.2 เสียงท้อง (peristalsis sound หรือ gurgling sounds)
เป็นเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้โดยปกติ จะได้ยินแต่เฉพาะในบริเวณท้อง แต่ในบางราย อาจได้ยินในบริเวณทรวงอกส่วนล่าง (ชายโครง) ทั้ง 2 ข้าง ถ้าได้ยิน
สูงขึ้นไปในทรวงอก โดยเฉพาะทรวงอกด้านซ้าย จะต้องสงสัยภาวะกระเพาะลำไส้เลื่อนเข้าในทรวงอก ( hiatal hernia หรือ diaphragmatic hernia) หรือ กล้ามเนื้อกะบังลมเป็นอัมพาต ทำให้กระเพาะลำไส้อยู่สูงขึ้นไปในทรวงอก
การฟังเสียงหายใจในบริเวณทรวงอก จึงอาจจะทำให้รู้ถึงสภาพปกติและผิดปกติของปอดและหลอดลม เพิ่มเติมจากที่ตรวจได้โดยการ ดู คลำ และเคาะที่ได้กล่าวถึงแล้วในฉบับก่อนๆ
No comments:
Post a Comment