เข็มให้เลือด เลือกใช้คล้ายการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ pack red cell จะใช้เข็มเบอร์ 18 หากเป็น Whole Blood หรือ Plasma ใช้เบอร์ 18-20
ชุดให้เลือด
คล้ายชุดให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำแต่มีข้อแตกต่างคือ ตรงกระเปาะพักเลือดจะมีถุงกรองเลือดอยู่ภายใน ถุงกรองนี้จะช่วยกรองชิ้นเศษ (Particulate debris) ได้ การใช้ชุดให้เลือดต้องเปลี่ยนทุกครั้งที่เปลี่ยนขวดให้เลือดใหม่ หากกระทำไม่ได้ควรเปลี่ยนเมื่อให้เลือดทุก 2-4 ยูนิต
วัตถุประสงค์ของการให้เลือด
1. เพื่อทดแทนเลือดที่สูญเสียไป เช่น ผู้ป่วยตกเลือด
2. เพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดง และมีฮีโมโกลบิน เช่น ผู้ป่วยโลหิตจาง
3. เพื่อทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
หลักการให้เลือด
ใช้หลักกีดกั้นเชื้อ
ขั้นตอนและวิธีการการให้เลือด
การเตรียมเลือดเพื่อให้ผู้ป่วย
1. เจาะเลือด Clotted blood จำนวน 5-10 มิลลิลิตร สำหรับส่งธนาคารเลือดเพื่อหาหมู่เลือด (Typing) และ (Cross-Matching) ( การทดสอบว่าเลือดผู้ให้กับผู้รับเข้ากันได้หรือไม่ )
เวลาเจาะเลือดผู้ป่วย ต้องตรวจดู ชื่อ นามสกุล ของผู้ป่วยให้ถูกต้อง และถาม ชื่อ นามสกุล ผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจก่อนจะเจาะเลือด และเจาะใส่หลอดแก้วที่ทางธนาคารเลือดเตรียมไว้ให้ฉลากปิด tube ต้องระบุชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวผู้ป่วย วันที่ หอผู้ป่วยให้ชัดเจน
2. ส่งเลือดพร้อมใบขอเลือด ซึ่งแพทย์เป็นผู้กรอกข้อความอย่างครบถ้วนไปยังธนาคาร
เลือด
3. เมื่อได้เลือดจากธนาคารเลือด ให้ตรวจดู ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวผู้ป่วย วันที่
หอผู้ป่วยว่าถูกต้องตรงกับตัวผู้ป่วยหรือไม่ จากนั้นตรวจชื่อ นามสกุล ชนิดของเลือด หมู่เลือด Blood Number ของ Donor กับ Recipient ให้ตรงกันทั้งในใบแจ้งที่คล้องมากับถุงเลือดใบขอเลือด และป้ายข้างขวดว่าตรงกันหรือไม่
4. เมื่อตรวจทานดูจนแน่ใจแล้ว ต้องตรวจดูเลือดในถุงว่ามีฟองแก๊ส (Gas bubbles) ซึ่งอาจแสดงว่ามีการเกิดของแบคทีเรียหรือถ้าสีเลือดผิดไปจากเดิม อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีการแตกของเม็ดเลือดแดง
5. ป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง โดยถ้าไม่ให้ผู้ป่วยควรส่งคืนธนาคารเลือดภายใน
30 นาที ไม่เก็บไว้ในตู้เย็นของหอผู้ป่วย ไม่อุ่นถุงหรือขวดเลือดด้วยน้ำร้อน ให้ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องหรือแช่ในน้ำธรรมดา
เครื่องใช้
1. เลือดที่ต้องการให้
2. เข็มเบอร์ 18, 20 ยาว 1 ½ นิ้ว ( เบอร์เข็มและชนิดของเข็มเลือกตามชนิดของเลือดที่ให้ )
3. Set ให้เลือด 1 set
4. Stand และสาแหรก ( สำหรับเลือดที่บรรจุเป็นขวด )
5. สายรัด
6. สำลีชุบ Alcohol 70% สำลีชุบ Tr Iodine 2.5%
7. ชามรูปไต
8. Syringe 2 ซีซี
9. พลาสเตอร์
10. ไม้รองแขน
11. ก๊อซขนาดเล็กที่ปราศจากเชื้อ
วิธีการ
1. ตรวจดูให้แน่ใจอีกครั้งว่าเลือดที่ได้จากธนาคารเลือดเป็นเลือดที่จะให้ผู้ป่วยคนที่
ต้องการโดยดู ชื่อ นามสกุล HN, AN หมู่เลือดให้ตรงกัน
2. บอกให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย เพราะการให้เลือดต้องใช้เวลานาน ควรให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเสียก่อน
3. ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อใช้เปรียบเทียบเวลามีอาการผิดปกติ
4. เตรียมเครื่องใช้ในการให้เลือด
5. ล้างมือให้สะอาด
6. นำเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย
7. ต่อชุดให้เลือดเข้ากับขวด ( ถุง ) เลือดแขวน ขวด ( ถุง ) เลือดให้สูงกว่าหัวใจประมาณ 3-4 ฟุต เปิดเกลียวปรับหยดให้เลือดผ่านที่กรองไล่ฟองอากาศออกจากชุดให้เลือดให้หมดปิดเกลียวปรับหยด
8. รัดสายรัดเหนือบริเวณที่จะให้เลือดประมาณ 4 นิ้ว ให้ผู้ป่วยกำมือสลับกับแบมือช้า ๆ เพื่อให้เลือดคั่งเห็นหลอดเลือดได้ชัด
9. ใช้สำลีชุบ Tr iodine 2.5% เช็ดบริเวณที่จะให้เลือดกว้าง 2 ” -3 ” และเช็ดซ้ำด้วยสำลีชุบ alcohol 70%
10. ใช้กระบอกฉีดยา 2 ซีซี ต่อกับเข็มที่จะแทงผู้ป่วย แทงเข็มเข้าในหลอดเลือดดำ ถ้าเข้าหลอดเลือด เลือดจะไหลเข้ามาใน Syringe ปลดสายรัดออก
11. ปลดกระบอกฉีดยาออกจากหัวเข็ม รีบต่อชุดให้เลือดกับเข็ม เปิดเกลียวปรับหยดระยะแรกของการให้เลือด ปรับหยดใน 15-30 นาทีแรกประมาณ 20 หยด / นาที ถ้าไม่มีปฏิกิริยาใดเกิดขึ้นให้ปรับอัตราการหยดของเลือดให้เร็วขึ้นตามสภาพของผู้ป่วย หรือตามแผนการรักษา โดยทั่วไปถ้าเป็นเลือด 1 หน่วย ( ประมาณ 300 มิลลิลิตร ) ให้หมดภายใน 2-4 ชั่วโมง Plasma ให้หมดใน 2 ชั่วโมง
12. ปิดรอยแทงเข็มด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ ติดพลาสเตอร์ ยึดหัวเข็มกับแขนของผู้ป่วยในกรณีที่แทงเข็มบริเวณข้อพับ หรือผู้ป่วยเคลื่อนไหวตัวมากให้ใช้ไม้รองแขนรองใต้แขน
13. นำเครื่องใช้ไปทำความสะอาดเก็บเข้าที่
14. บันทึกรายงานเกี่ยวกับเวลา ชนิดของเลือด หมู่เลือด จำนวน และอาการภายหลังการให้เลือด
15. เมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด ควรหยุดให้เลือดและส่งเลือดผู้ป่วยหลังการให้เลือด เลือดที่เหลือในถุงและแบบฟอร์มที่ต้องการกรอกส่งคลังเลือดในรายมีอาการผิดปกติไปตรวจสอบที่ธนาคารเลือด
ข้อควรระวัง
ระวังปฏิกิริยากับสารน้ำและยาอื่น ๆ สารน้ำชนิดเดียวที่จะให้พร้อมเลือดได้คือ NSS สารน้ำอื่น ๆ เช่น 5% Dextrose in water จะทำให้เม็ดเลือดแดงจับกลุ่มกัน สารน้ำพวก Ringer ' s solution จะทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นเพราะมีแคลเซียมมาก ไม่ฉีดยาทางหลอดเลือดดำที่ให้เลือดอยู่ ถ้ามีความจำเป็นต้องให้ยาต้องฉีด NSS เข้าหลอดเลือดดำก่อนและหลังการฉีดยาทุกครั้ง
No comments:
Post a Comment