Wednesday, June 19, 2013

การตรวจสมรรถภาพทางปอด


การตรวจสมรรถภาพทางปอด


( Pulmonary  Function  Tests / Spirometer )
   
กาญจนา ปิยวัฒน์ปภาดา
- พยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
นภาวี ศรีจันทร์นิด
- พยาบาลศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม)วิทยาลัยมิชชั่น
     
        การตรวจสมรรถภาพทางปอด   เป็นการตรวจที่ สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการวินิจฉัย, ประเมินและติดตามผลการรักษาโรคระบบการหายใจ เช่น โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากการ ทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้การตรวจสมรรถภาพปอด ยังสามารถบ่งถึงการเสื่อมของการทำงานของปอด ก่อนที่อาการแสดงทางคลินิกจะเริ่มปรากฏ เนื่อง จากปอดเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสำรองสูง อาการเหนื่อยจึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพ ในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว
        การตรวจสมรรถภาพทางปอด เป็นการทดสอบ การหายใจ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สไปโรมิเตอร์ (Spirometer) ซึ่งจะวัดปริมาตรอากาศเข้าและออกจาก ปอด    สามารถบันทึกเป็นกราฟ (Spirogram) แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและเวลา
ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการทำสไปโรเมตรีย์
 1)เพื่อการวินิจฉัยโรค
  -ในผู้ที่มีอาการ,  อาการแสดงหรือผล การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิด ปกติ ซึ่งอาจเกิดจากโรคระบบการ หายใจ ได้แก่ อาการเหนื่อย ไอ หายใจ มีเสียงหวีดหวือ เจ็บหน้าอกหรือ  ตรวจร่างกายพบเสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูปหรือภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ   ความเข้มของเม็ดเลือดแดง เพิ่มขึ้น หรือตรวจพบออกซิเจนใน เลือดแดงต่ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ สูง เป็นต้น
 
  -เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค ระบบการหายใจ
  -ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ระบบการหายใจ  ได้แก่ สูบบุหรี่  อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอด จากการประกอบอาชีพ เช่น ทำงาน เหมืองแร่ ฯลฯ
  -ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะ แทรกซ้อนด้านระบบหายใจในผู้ป่วย ก่อนผ่าตัด
 2)ติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรค
  -ติดตามผลการรักษา ได้แก่ ผลของยา ขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้น ของหลอดลม ประเมินผลของยา สเตียรอยด์ในผู้ป่วยหืด
  -ติดตามการดำเนินโรค เช่น  ผู้ป่วยที่มี การอุดกั้นของหลอดลม
  -ติดตามผู้ป่วยที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการ เกิดโรคระบบหายใจจากการประ- กอบอาชีพ
  -ติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผล ต่อระบบการหายใจ
 3)ประเมินความทุพพลภาพ ในผู้ป่วยที่เกิด โรคจากการทำงาน ประเมินความเสี่ยง เพื่อการทำประกันสุขภาพ
 4)การสำรวจสุขภาพชุมชน และการศึกษา ทางระบาดวิทยา


******************** 

ข้อห้ามในการทำสไปโรเมตรีย์
 1)ไอเป็นเลือด
 2)ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับ  การรักษา
 3)ระบบหลอดเลือดหรือหัวใจทำงานไม่คงที่  ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการ รักษา หรือควบคุมได้ไม่ดี, ความดันโลหิต ต่ำ
 4)เส้นเลือดแดงโป่งในทรวงอก, ท้องหรือ สมอง
 5)เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดลอก ต้อกระจก
 6)เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องอก หรือ ช่องท้อง
 7)ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดเชื้อ, ไข้หวัด
 8)สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
 9)ผู้ที่อาการเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อการ ทดสอบสไปโรเมตรีย์ เช่น คลื่นไส้หรือ อาเจียนมาก
ภาวะแทรกซ้อนจากการทำสไปโรเมตรีย์
        แม้ว่าการตรวจสไปโรเมตรีย์เป็นการตรวจที่ ปลอดภัยมาก แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนได้บ้างดัง ต่อไปนี้
 1)ความดันในกะโหลกศรีษะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ เป็นต้น
 2)เวียนหัว, มึนงง และในบางรายอาจ มีอาการหมดสติได้
 3)
อาการไอ
 4)หลอดลมตีบ โดยเฉพาะในผู้ป่วยหืด หรือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ยังควบคุมอาการไม่ดี
 5)เจ็บหน้าอก
 6)ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด
 7)ขาดออกซิเจน จากการหยุดให้ชั่วคราว ระหว่างการตรวจ
 8)การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
 คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนตรวจ
 1)งดใช้ยาขยายหลอดลม (ยาพ่นชนิดออก ฤทธิ์สั้น เช่น Ventolin, Berodual อย่าง น้อย 4-6 ชั่วโมง และยารับประทานและ ยาพ่นชนิดออกฤทธิ์ยาว เช่น  Seretide, Symbicort, Spiriva   อย่างน้อย 12  ชั่วโมง) โดยขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
 2)หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนตรวจ
 3)ไม่ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีก่อน ตรวจ
 4)ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่รัดทรวงอกและท้อง
 5)วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก
 6)นำฟิล์มเอกซเรย์ปอดมาด้วยถ้ามี
คำแนะนำการปฏิบัติตัวขณะตรวจ
 1)นั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ไม่ไขว่ห้าง
 2)ถอดฟันปลอมออก กรณีใส่ฟันปลอม
 3)ทำการทดสอบด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์
 4)อมปลายท่อโดยปิดริมฝีปากให้สนิท ไม่ให้ลมรั่วทางปาก
 5)ถืออุปกรณ์สำหรับทดสอบให้ถนัดโดย ใช้มือ 2 ข้างประคองไว้
 6)ปิดจมูกด้วยตัวหนีบจมูกเพื่อไม่ให้ลมรั่ว
 7)หายใจเข้าออกธรรมดาสม่ำเสมอ 2-3 ครั้ง
 8)หายใจเข้าลึกเต็มที่แล้วกลั้นไว้
 9)เป่าลมหายใจออกครั้งเดียวให้เร็วแรงเต็ม ที่นาน อย่างน้อย 3 วินาทีจนกว่าเจ้าหน้าที่จะให้สัญญาน จึงหายใจเข้าลึกเต็มที่อีก ครั้ง
 10)ปลดที่หนีบจมูก และนำท่อยางออก จากปาก วางอุปกรณ์ไว้ที่เครื่อง
 11)นั่งพักให้หายเหนื่อย และอาจต้องทดสอบ ซ้ำเพื่อให้ได้กราฟที่เข้าเกณฑ์เพื่อให้ แพทย์อ่านผลการทดสอบสมรรถภาพ ทางปอดต่อไป

No comments:

Post a Comment