Saturday, June 22, 2013

วิธีอ่านงานวิจัย (paper) โดยคุณ molecularkitten

คัดลอกมาจาก

http://molecularkitten.exteen.com/20080910/paper
งานเขียนชิ้นนี้สร้างขึ้นโดยคุณ molecularkitten

วันนี้มาสั้นๆ ค่ะ แต่ว่าก็อยากเขียนนานแล้ว เพราะเคยอ่านเจอจากห้องหว้ากอว่า มีน้องๆที่บ่นว่า เวลาอ่าน paper แล้วงงๆจับต้นชนปลายไม่ถูก วันนี้เลยขอเขียนวิธีการอ่าน paper ตามแบบที่ได้รับคำแนะนำมาค่ะ เพราะถ้าเรียนไปๆ paper มันก็มากขึ้นตามลำดับ จะให้ มานั่งอ่านอย่างละเอียดทุกอันก็คงไม่ไหว วิธีนี้ก็จะช่วยให้ประหยัดเวลา และคัดกรอง สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปได้ค่ะ

อันดับแรกที่ทำให้สะดุดตา ก็คงจะเป็นชื่อเรื่อง (แหงล่ะ) จากนั้นเราก็ต้องอ่าน Abstract ให้เข้าใจก่อนค่ะ ว่ามันคือ เรื่องอะไร มีรายระเอียดคร่าวๆคือ อะไรบ้าง ตกลงว่า paper อันนี้มันเกี่ยวกับที่เราอยากรู้จริงหรือเปล่า พอได้ความจาก Abstract แล้ว ต่อจากนี้ละ ที่จะเริ่มงงกัน ว่าไปต่อยังไงให้เร็วที่สุด

อันดับแรกคือ ต้องอ่าน introduction ให้เข้าใจค่ะ หลายคนชอบ ข้ามตรงนี้ไป ซึ่งเราก็เคยเป็น เพราะส่วนนี้จะเป็นอะไรที่บอกที่มาที่ไป เกริ่นนำว่ามันเกี่ยวกับอะไร บอกสิ่งที่เราควรรู้ก่อนอ่านต่อไป มีปัญหา หรือ ข้อสงสัยที่เป็นข้อมูลอะไรมาก่อนหน้านี้ จากนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่ วัตถุประสงค์ หรือ objective ซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนไว้ตรงย่อหน้าสุดท้าย นั่นแหล่ะค่ะ ที่เป็นตัวบอกว่าทั้ง paper เนี่ยเขาต้องการศึกษาเพื่ออะไร

ที่นี้ก็หวานหมูเราแล้วล่ะค่ะ มาถึงตรงนี้แล้ว ให้ข้ามไปดู results ได้เลย มี gel ดู gel มีกราฟดูกราฟ เพราะเรารู้แล้วนี่ว่าเขาต้องการศึกษาอะไร ซึ่งตรงนี้พอเห็นผลใน results แล้ว เราก็น่าจะพอมองออกคร่าวๆแล้วค่ะ ว่าการศึกษามันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ไหม สามารถตอบคำถามของเจ้าของ paper เองได้หรือเปล่า ตรง results นี่ให้ดูไปพร้อมกับ discussion ได้เลยค่ะ (จะได้รู้กันไปว่า คนทำมันโม้ว่าไงมั่ง) แล้วถ้าเราสงสัยในผลการทดลองว่า ไอ้นี่มันได้มายังไง หรือมาแต่หนใด ก็ค่อยพลิกไปดู Material & Method เป็นอย่างสุดท้าย

วิธีนี้น่าจะช่วยคัดกรอง paper ให้อ่านได้เร็วขึ้นค่ะ แต่ถ้าอ่านแล้วหลับ ไม่ต้องมาถามเจ๊นะคะ เพราะอ่านทีไร แล้วก็หลับเหมือนกันค่ะ (esp.พวก review)

Wednesday, June 19, 2013

การตรวจสมรรถภาพทางปอด


การตรวจสมรรถภาพทางปอด


( Pulmonary  Function  Tests / Spirometer )
   
กาญจนา ปิยวัฒน์ปภาดา
- พยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
นภาวี ศรีจันทร์นิด
- พยาบาลศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม)วิทยาลัยมิชชั่น
     
        การตรวจสมรรถภาพทางปอด   เป็นการตรวจที่ สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการวินิจฉัย, ประเมินและติดตามผลการรักษาโรคระบบการหายใจ เช่น โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากการ ทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้การตรวจสมรรถภาพปอด ยังสามารถบ่งถึงการเสื่อมของการทำงานของปอด ก่อนที่อาการแสดงทางคลินิกจะเริ่มปรากฏ เนื่อง จากปอดเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสำรองสูง อาการเหนื่อยจึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพ ในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว
        การตรวจสมรรถภาพทางปอด เป็นการทดสอบ การหายใจ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สไปโรมิเตอร์ (Spirometer) ซึ่งจะวัดปริมาตรอากาศเข้าและออกจาก ปอด    สามารถบันทึกเป็นกราฟ (Spirogram) แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและเวลา
ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการทำสไปโรเมตรีย์
 1)เพื่อการวินิจฉัยโรค
  -ในผู้ที่มีอาการ,  อาการแสดงหรือผล การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิด ปกติ ซึ่งอาจเกิดจากโรคระบบการ หายใจ ได้แก่ อาการเหนื่อย ไอ หายใจ มีเสียงหวีดหวือ เจ็บหน้าอกหรือ  ตรวจร่างกายพบเสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูปหรือภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ   ความเข้มของเม็ดเลือดแดง เพิ่มขึ้น หรือตรวจพบออกซิเจนใน เลือดแดงต่ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ สูง เป็นต้น
 
  -เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค ระบบการหายใจ
  -ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ระบบการหายใจ  ได้แก่ สูบบุหรี่  อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอด จากการประกอบอาชีพ เช่น ทำงาน เหมืองแร่ ฯลฯ
  -ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะ แทรกซ้อนด้านระบบหายใจในผู้ป่วย ก่อนผ่าตัด
 2)ติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรค
  -ติดตามผลการรักษา ได้แก่ ผลของยา ขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้น ของหลอดลม ประเมินผลของยา สเตียรอยด์ในผู้ป่วยหืด
  -ติดตามการดำเนินโรค เช่น  ผู้ป่วยที่มี การอุดกั้นของหลอดลม
  -ติดตามผู้ป่วยที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการ เกิดโรคระบบหายใจจากการประ- กอบอาชีพ
  -ติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผล ต่อระบบการหายใจ
 3)ประเมินความทุพพลภาพ ในผู้ป่วยที่เกิด โรคจากการทำงาน ประเมินความเสี่ยง เพื่อการทำประกันสุขภาพ
 4)การสำรวจสุขภาพชุมชน และการศึกษา ทางระบาดวิทยา


******************** 

ข้อห้ามในการทำสไปโรเมตรีย์
 1)ไอเป็นเลือด
 2)ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับ  การรักษา
 3)ระบบหลอดเลือดหรือหัวใจทำงานไม่คงที่  ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการ รักษา หรือควบคุมได้ไม่ดี, ความดันโลหิต ต่ำ
 4)เส้นเลือดแดงโป่งในทรวงอก, ท้องหรือ สมอง
 5)เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดลอก ต้อกระจก
 6)เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องอก หรือ ช่องท้อง
 7)ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดเชื้อ, ไข้หวัด
 8)สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
 9)ผู้ที่อาการเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อการ ทดสอบสไปโรเมตรีย์ เช่น คลื่นไส้หรือ อาเจียนมาก
ภาวะแทรกซ้อนจากการทำสไปโรเมตรีย์
        แม้ว่าการตรวจสไปโรเมตรีย์เป็นการตรวจที่ ปลอดภัยมาก แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนได้บ้างดัง ต่อไปนี้
 1)ความดันในกะโหลกศรีษะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ เป็นต้น
 2)เวียนหัว, มึนงง และในบางรายอาจ มีอาการหมดสติได้
 3)
อาการไอ
 4)หลอดลมตีบ โดยเฉพาะในผู้ป่วยหืด หรือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ยังควบคุมอาการไม่ดี
 5)เจ็บหน้าอก
 6)ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด
 7)ขาดออกซิเจน จากการหยุดให้ชั่วคราว ระหว่างการตรวจ
 8)การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
 คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนตรวจ
 1)งดใช้ยาขยายหลอดลม (ยาพ่นชนิดออก ฤทธิ์สั้น เช่น Ventolin, Berodual อย่าง น้อย 4-6 ชั่วโมง และยารับประทานและ ยาพ่นชนิดออกฤทธิ์ยาว เช่น  Seretide, Symbicort, Spiriva   อย่างน้อย 12  ชั่วโมง) โดยขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
 2)หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนตรวจ
 3)ไม่ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีก่อน ตรวจ
 4)ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่รัดทรวงอกและท้อง
 5)วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก
 6)นำฟิล์มเอกซเรย์ปอดมาด้วยถ้ามี
คำแนะนำการปฏิบัติตัวขณะตรวจ
 1)นั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ไม่ไขว่ห้าง
 2)ถอดฟันปลอมออก กรณีใส่ฟันปลอม
 3)ทำการทดสอบด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์
 4)อมปลายท่อโดยปิดริมฝีปากให้สนิท ไม่ให้ลมรั่วทางปาก
 5)ถืออุปกรณ์สำหรับทดสอบให้ถนัดโดย ใช้มือ 2 ข้างประคองไว้
 6)ปิดจมูกด้วยตัวหนีบจมูกเพื่อไม่ให้ลมรั่ว
 7)หายใจเข้าออกธรรมดาสม่ำเสมอ 2-3 ครั้ง
 8)หายใจเข้าลึกเต็มที่แล้วกลั้นไว้
 9)เป่าลมหายใจออกครั้งเดียวให้เร็วแรงเต็ม ที่นาน อย่างน้อย 3 วินาทีจนกว่าเจ้าหน้าที่จะให้สัญญาน จึงหายใจเข้าลึกเต็มที่อีก ครั้ง
 10)ปลดที่หนีบจมูก และนำท่อยางออก จากปาก วางอุปกรณ์ไว้ที่เครื่อง
 11)นั่งพักให้หายเหนื่อย และอาจต้องทดสอบ ซ้ำเพื่อให้ได้กราฟที่เข้าเกณฑ์เพื่อให้ แพทย์อ่านผลการทดสอบสมรรถภาพ ทางปอดต่อไป

Sunday, April 28, 2013

เครื่องกรองน้ำสะอาดแบบชาวบ้าน โดย ศ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก

เครื่องกรองน้ำสะอาดแบบชาวบ้าน
 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท

1. อุปกรณ์


ก. โอ่งหรือถัง สูงประมาณ 18 นิ้ว (อาจจะมากกว่าก็ได้) จำนวน 3 ใบ
ข. สายยางใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 2 เมตร
ค. ขั้วต่อสายยาง คอยปรับระดับน้ำให้ไหลมากหรือน้อย 2 อัน สายยางและต้นขั้วต่อสายยางนั้นอาจใช้ชุดของ สายน้ำเกลือนำมาใช้ได้เลย ซึ่งสามารถขอได้ตาม โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีที่ปรับเร่งให้ไหลเร็วหรือช้า ก็ได้

2. วิธีเจาะ


ก. เจาะตุ่มด้วยฆ้อนกับตะปู กว้างพอกับสายยาง
ข. โอ่งหรือถังใบที 1 เจาะ 1 รู สูงจากก้นโอ่ง 2 นิ้ว
ค. โอ่งหรือถังใบที่ 2 และ 3 เจาะ 2 รู รูล่างให้เสมอกับ โอ่ง รูบนวัดจากปากโอ่งลงมา 2-3 นิ้ว 

  
รูปที่ 1 แสดงการเจาะตุ่มหรือโอ่ง ต่อสายยาง และการบรรจุกรวดและทราย

3. ต่อสายยาง


ก. ต่อสายยางจากรูที่ก้นโอ่งใบที่ 1 กับสายยางที่รูก้นโอ่ง ใบที่ 2 โดยใช้ขั้วต่อ
ข. ต่อสายยางจากรูที่ปากโอ่งใบที่ 2 กับสายยางที่รูก้น โอ่งใบที่ 3 โดยใช้ขั้วต่อเช่นเดียวกัน
ค. เสียบสายยางที่รูปากโอ่งใบที่ 3 และปล่อยสายยาง ทิ้งไว้

4. วิธีบรรจุกรวดและทราย


ก. กรวดและทรายละเอียดที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด
ข. วิธีบรรจุกรวดและทรายละเอียดในโอ่งใบที่ 2 และ 3 เหมือนกัน
ค. ใส่กรวดลงก่อนให้สูงพอมิดสายยาง เพื่อกันไม่ให้ ทรายเข้าไปอุดรูสายยาง
ง. แล้วใส่ทรายละเอียดลงไปให้ความสูงของทรายอยู่ใต้ รูบนประมาณ 1 นิ้ว
5. การยกระดับ ช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น และป้องกันการไหล ย้อนกลับ


ก. โอ่งใบที่ 1 สูงจากระดับพื้น 20 นิ้ว
ข. โอ่งใบที่ 2 สูงจากระดับพื้น 10 นิ้ว
ค. โอ่งใบที่ 3 สูงจากระดับพื้น 3 นิ้ว 

  
รูปที่ 2 ขั้นตอนของการกรองน้ำให้สะอาด

6. วิธีกรอง


ก. เทน้ำลงในโอ่งใบที่ 1 ใส่คลอรีนประมาณ 1 ช้อนชาและแกว่งสารส้ม (น้ำที่เทลงในโอ่งจะเป็นน้ำที่เสีย คือ สกปรกซึ่งอาจนำมาจากตามแม่น้ำลำคลอง)
ข. น้ำจะถูกกรองโดยโอ่งใบที่ 2 ผ่านกรวดและทรายเอ่อ ขึ้นสวนทางกับแรงดึงดูดของโลก และไหลออกทาง สายยางที่ปากโอ่งใบที่ 2 ไปยังก้นโอ่งใบที่ 3
ค. น้ำจะถูกกรองจากโอ่งใบที่ 3 เช่นเดียวกับโอ่งใบที่ 2
ง. น้ำที่ออกจากโอ่งใบที่ 3 เราดื่มได้เลย จำนวนน้ำที่ได้ ประมาณ 60-70 ลิตรต่อวัน

7. วิธีล้างโอ่งกรอง


ถอดสายยางตรงขั้วต่อออก ปล่อยน้ำจากก้นโอ่งกรองที่ 2 และ 3 ออกจนหมดน้ำขุ่นเท่านั้น
ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นนี้ เราก็สามารถได้น้ำที่สะอาด น้ำที่ ผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วสามารถนำไปดื่มได้ทันที
นอกจากจะช่วยให้ประโยชน์แก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม แล้วเครื่องกรองน้ำแบบง่าย ๆ นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับผู้ที่ บ้านอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าใช้มากที่สุด คือผู้ที่อาศัยตามหมู่บ้านที่สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ หรือถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อย่างใกล้ชิด เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านที่มีโครงสร้างสนิทสนมกัน มากตามแบบไทย ๆ ก็อาจดัดแปลงร่วมใจกันสร้างเครื่องกรองน้ำสำหรับ ชุมชนขนาดย่อมได้ โดยช่วยกันสละเงินคนละเล็กคนละน้อย แล้วช่วยกันดู แลรักษา ตัวอย่างที่ทำกันมาแล้วเช่น เช่นที่อำเภอหัวไผ่ จังหวัดอ่างทอง และ ที่โรงเรียนสลัมคลองเตย ซึ่งปรากฏว่า มีน้ำสะอาดบริโภคกันอย่างทั่วถึง 

โครงการเกลือคุณภาพ น้ำปลาคุณภาพ น้ำดื่มสะอาด ศิริราช 21 
  
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 
เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2577-9000
โทรสาร 0-2577-9009

สมดุลของอิเลคโทรไลต์ในร่างกาย by tuck-nu


สมดุลของอิเลคโทรไลต์ในร่างกาย
คัดลอกจาก http://tuck-nu-tuck-nu.blogspot.com/2009/09/blog-post_2948.html

อิเล็กโทรไลต์เป็นสารประกอบที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ ซึ่งในร่างกายสัตว์มีความสำคัญเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ถ้าหากว่าเกิดความผิดปกติใด ๆ จนถึงขั้นที่กลไกการควบคุมของเหลวและอิเลคโทรไลต์ไม่สามารถปรับสภาพเป็นปกติได้จะส่งผลให้เสียสมดุลของร่างกายและแสดงการเจ็บป่วย ซึ่งถ้าหากรุนแรงก็อาจจะทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ 

อาการบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการตรวจ
1.ภาวะที่เห็นได้ชัดว่ามีการสูญเสียอิเล็คโทรไลต์เช่น ท้องเสีย อาเจียน เสียเลือด ซึงจะเป็นการเสียไปพร้อมกับน้ำ
2.ในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดของอิเลคโทรไลต์ เช่น สงสัยช่องท้องอักเสบ ทางเดินอาหารบิดหมุน ท้องอืด ภาวะอ่อนแรง ล้มนอน เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจวิเคราะห์อิเลคโทรไลต์ประกอบด้วยการตรวจความเข้มข้นของอิเลคโทรไลต์ในซีรัมโดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ใช้หลักการ ion selective electrode (ISE) ซึ่งหมายถึง การตรวจวิเคราะห์โดยวัดการเคลื่อนที่ของ electron ของไอออนเฉพาะในน้ำยาเคมีที่มีประจุ (electrolytic solution)ที่จำเพาะต่ออิเลคโทรไลต์ ซึ่งเครื่องมือที่มีใช้ในโรงพยาบาลสัตว์คือเครื่อง Ion-selective electrod (ISE) analyzer โดยใช้ตัวอย่างส่งตรวจคือ ใช้ซีรัม โดยอาจจะเก็บจากหลอดเลือดดำที่โคนหาง ที่คอหรือใบหูก็ได้จากนั้นใสในขวดเก็บเลือดที่ไม่มีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดเพื่อให้ซีรัมแยกออกจากเม็ดเลือดและส่งห้องปฏิบัติการต่อไป
การวัดปริมาณแก๊สในเลือด (Blood gas analysis) เป็นวิธีตรวจความเป็นกรด-ด่างในเลือดได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยตัวอย่างส่งตรวจคือเลือดที่ผสมสารเฮพารินไม่ให้สัมผัสอากาศภายนอกและปิดให้สนิท ควรส่งตรวจให้เร็วที่สุดหรือแช่เย็นในน้ำแข็งไม่เกิน 4 ชั่วโมงเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงแก๊สให้น้อยสุด ควรวัดอุณหภูมิประกอบการตรวจเพราะมีผลต่อค่า PO2 และ PCO2 ชนิดของหลอดเลือดมีผลต่อความเป็นกรด-ด่างเนื่องจากเลือดจากหลอดเลือดแดงจะมีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงกว่าและ PCO2 ต่ำกว่าเลือดเลือดดำ แต่เลือดจากหลอดเลือดดำจะมีไบคาร์บอเนตสูงกว่าดังนั้นเลือดจากหลอดเลือดดำจะให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการประเมินภาวะความเป็นกรด-ด่างจากกระบวนการเมทาบอลิซึมที่เป็นผลจากสาเหตุปฐมภูมิส่วนเลือดจากหลอดเลือดแดงเหมาะกับการประเมินความผิดปกติของการหายใจจากสาเหตุปฐมภูมิ


การประเมินและแปลผล

1.โซเดียม (Sodium) โซเดียม ส่วนใหญ่จะประกอบอยู่ในน้ำนอกเซลล์ ความเข้มข้นของโซเดียมจะคงที่อยู่ในช่วงที่แตกต่างกันน้อยมาก (132-152 mmole/l) โซเดียมมีประโยชน์ในการรักษาความดันออสโมติกของน้ำนอกเซลล์ไว้ ซึ่งมีผลต่อปริมาณของน้ำ และมีการเคลื่อนที่ย้ายน้ำในร่างกาย โซเดียมจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ และควบคุมความสมดุลของกรดด่างในร่างกาย
ภาวะขาดโซเดียม(Hyponatremia) มักเกิดจากการเสียโซเดียมไป (มีน้อยกว่า 132 mmole/l) โซเดียมในร่างกายจะเสียไป จากโรคในทางเดินอาหาร (อาเจียนหรือท้องเสีย) จากโรคไตบางชนิด ทำให้ท่อ ไต ดูดกลับโซเดียมได้น้อยลง หรือไม่ได้เลย การหลั่งฮอร์โมน ADH มากเกินไป หรือการให้สารน้ำที่เป็น hypotonic มากเกินไป (5% dextrose) เป็นต้น อาการของการขาดโซเดียม ในการสูญเสียโซเดียมมักจะเสียน้ำไปด้วยทำให้มีอาการขาดน้ำ (dehydration) เนื่องจากไตพยายามรักษาความดันออสโมติกของน้ำนอกเซลล์เอาไว้ โดยการขับน้ำออกมากขึ้น จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อเกร็ง อาจจะมีกระตุก และชักได้ ท้องเดิน อาเจียน ถ้ายังคงขาดนาน ก็จะมีอาการรุนแรงจนเกิดหมดสติ และการไหลเวียนล้มเหลวได้
ภาวะโซเดียมเกิน(Hypernatremia) มักเกิดจากการกินเข้าไปมากหรือขับออกน้อยลง (มากกว่า 152 mmole/l) เช่นมีการหลั่งแอลโดสเทอโรน (aldosterone) มากเกินไป อาจเกิดจากการให้คอร์ทิโซน ซึ่งจะทำให้การดูดซึมกลับโซเดียมโดยท่อไตเพิ่มขึ้น ในโรคไตถ้ากินเข้าไปมากขับออกมาไม่ได้ ก็ทำให้โซเดียมคั่งได้เช่นเดียวกันอาการและอาการแสดงของการมีโซเดียมคั่ง คือ มีอาการสับสน บวม มีน้ำคั่งในช่วงว่างของเนื้อเยื่อ ปัสสาวะน้อยลง ปากแห้งและเหนียว ลิ้นจะขรุขระและแห้ง ถ้าไม่ให้การรักษาก็จะทำให้หมดสติได้

2.โพแทสเซียม (potassium) เหมือนกับอิเล็กโทรไลต์อื่นๆในร่างกาย โพแทสเซียมในร่างกายจะมีค่าคงที่ (3.5-5.1 mmole/l) แต่ถ้าค่ามีการเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้มีผลต่อร่างกายได้ โพแทสเซียมมีมากในเซลล์มีความสำคัญในการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจ การส่งกระแสประสาท ไตจะมีหน้าที่ในการควบคุมความเข้มข้นของโพแทสเซียม โดยเฉพาะถ้ามีการคั่งในน้ำนอกเซลล์ โพแทสเซียมจะถูกขับออกมาทางอุจจาระ
ภาวะขาดโพแทสเซียม(Hypokelemia) โพแทสเซียมจะไม่มีเก็บสำรองไว้ในร่างกาย การขาดอาจเกิดจากการได้รับเข้าไปน้อย การดูดซึมของลำไส้น้อยลงหรือมีการสูญเสียไปมาก การผ่าตัดลำไส้ออกก็อาจทำให้ขาดการดูดซึมได้ ถ้าไตเสียก็จะทำให้มีการเสีย โพแทสเซียมเช่นเดียวกัน แอลโดสเทอโรน ทำให้มีการดูดซึมโซเดียมมากขึ้น และขับโพแทสเซียมออกไปแทน ถ้ามีการหลั่งฮอร์โมนนี้มาก จะทำให้ขาดโพแทสเซียมได้ การเสียไปกับสิ่งขับจากระบบทางเดินอาหาร เช่น การอาเจียน หรือท้องเสีย จะทำให้มีการขาดโพแทสเซียม กล้ามเนื้อจะมีความไวต่อการขาดโพแทสเซียมมาก ถ้าขาดจะทำให้ มี การทำหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจได้ การขาดจะมีผลต่อหัวใจจะทำให้ชีพจรเบาเร็ว ถ้าขาดรุนแรงหัวใจจะโต และล้มเหลวได้ กล้ามเนื้อลายมีการอ่อนแรงและลีบ จะมีอาการอ่อนเพลียจนอาจมีอาการอัมพาตของขาและกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจวายได้ กล้ามเนื้อเรียบผิดปกติทำให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ และทางเดินอาหารน้อยลง มีอาการท้องอืด อาเจียน และไม่ถ่ายอุจจาระ เมื่อขาดโพแทสเซียมในน้ำนอกเซลล์ โพแทสเซียมในเซลล์ก็จะออกมาภายนอก ทำให้ขาดโพแทสเซียมในเซลล์ โซเดียมและไฮโดรเจนไอออนจะเข้าไปอยู่ในเซลล์แทนทำให้หน้าที่ของเซลล์เสียไป เกิดภาวะเป็นด่างในน้ำนอกเซลล์ เนื่องจากเสียโซเดียม และไฮโดเจนไอออนไป ภาวะโพแทสเซียมเกิน(Hyperkalemia) อาจเกิดจากการขับออกทางไตน้อย มีการสลายของเซลล์มาก (catabolism) หรือได้รับเข้าไปเป็นจำนวนมาก การมีปัสสาวะน้อยไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามเช่นโรคไต ขาดน้ำ หรือช็อค ก็ทำให้มีการขับโพแทสเซียมออกมาน้อยลง นอกจากนั้นอาจเกิดจากการ ขาดฮอร์โมนอะดรีนัล คอร์เท็กซ์ เช่น คอร์ทิคอยด์ (corticoid) ทำให้ไตขับโพแทสเซียมน้อยลง แม้ว่าไตจะขับปัสสาวะออกได้ตามปกติก็ตามแต่มีการดูดซึมกลับของโพแทสเซียมในท่อไตมากขึ้น การทำลายของเนื้อเยื่อและเซลล์พบมากในพวกที่มีบาดเจ็บจะทำให้มีการปล่อยโพแทสเซียม ในเซลล์ ออกมาในน้ำนอกเซลล์ ทำให้มีจำนวนโพแทสเซียมสูง ขึ้น การคั่งของโพแทสเซียมจะทำให้มีอาการซึม กล้ามเนื้อลายเป็นอัมพาต ท้องเสีย ชีพจรเต้นเร็ว จนกระทั่งหัวใจวายตายได้

3.คลอไรด์ (Chloride)
เป็นไอออนลบซึ่งปกติโคมีความเข้มข้นของคลอไรด์ในพลาสมาประมาณ 94-111 mmole/l การเปลี่ยนแปลงระดับวามเข้มข้นของคลอไรด์ในซีรัม ทำให้สัดส่วนของระดับความเข้นข้นโซเดียมต่อความสมดุลของน้ำในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งความเข้มข้นของคลอไรด์จะแปรผกผันกันความเข้มข้นของไบคาร์บอนเนต ดังนั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนความเข้มข้นของคลอไรด์ จะมีความสัมพันธ์กับความไม่สมดุลของกรด ด่างเกิดขึ้นด้วย หากมีสัดส่วนของคลอไรด์สูงขึ้นรวมกับการมี anion gap เป็นปกติไปจนถึงต่ำ จะเกิดภาวะ metabolic acidosis ที่มีคลอไรด์สูง (hyperchloridemia) สภาวะร่างกายจะตอบสนองด้วยการชดเชยที่เรียกว่า respiratory alkalosis ส่วนการไม่สมดุลของสัดส่วนคลอไรด์ที่ต่ำนั้นจะเกิด metabolic alkalosis โดยจะชดเชยด้วยการเพิ่มความเป็นกรดในระบบหายใจ (respiratory acidosis) โดยการที่มีคลอไรด์ต่ำและเกิด metabolic alkalosis มักจะพบความผิดปกติของระบบการย่อยอาหารในสัตว์ 4 กระเพาะได้ทั่วไปและมีสาเหตุจากการสูญเสียน้ำที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบจำนวนมากหรือมีการสะสมของคลอไรด์ในน้ำที่ abomasums และ forestomuchs

สมดุลกรด-ด่าง
เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมต่าง ๆ ของร่างกาย ค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือดโคปกติอยู่ระหว่าง 7.31-7.53 ถ้าหากลดลงต่ำกว่า 6.8 หรือสูงเกิน 7.8 อาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้
1. Metabolic acidosis เป็นภาวะที่มี pH ในเลือดต่ำกว่าปกติอาจเกิดจาก
a. การสูญเสียไบคาร์บอเนต สูญเสียไปกับการคัดหลั่งจากดูโอดีนัมและตับอ่อนปนออกมากับอุจจาระ ซึ่งเกิดในกรณีท้องร่วงดูดกลับไม่ทัน หรือการเสียไปกับน้ำลายในสัตว์ที่เป็นแผลในปาก
b. การสร้างและสะสมกรดแลกติกมากขึ้น เช่น เนื้อเยื่อที่เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เกิดการสลายไกลโคเจนแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดกรด
c. กินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทจะถูกหมักย่อยได้เป็นกรดเมื่อมีมากไปทำให้เกิดภาวะเป็นกรด
d. การขับไฮโดรเจนไอออนที่ไตลดลงร่วมกับการคั่งค้างของไบคาร์บอเนต เมื่อสัตว์เกิดสภาวะช็อคทำให้การไหลเวียนลดลงทำให้ขับไฮโดรเจนไอออนออกมาลดลง
2. Metabolic alkalosis เกิดจากการสูญเสียไฮโดรเจนไอออนในสิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะโดยเฉพาะกรดไฮโดรคลอริก เช่น จากกระเพาะแท้พลิก เคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง บิดตัว หรออัดแน่น ทำให้การดูดกลับถูกรบกวนเกิดการคั่งค้างในทางเดินอาหาร หรือเกิดจากได้รับอาหารที่มีด่างมากไป การที่มีด่างสะสมมากกว่าปกติร่างกายจะแก้ไขโดยการหายใจโดย hypoventilation ทำให้ค่า PCO2 เพิ่มขึ้น ถ้าร่างกายแก้ไขไม่ได้ต้องทำการรักษา
3. Respiratory acidosis เป็นภาวะเลือดมี pH ลดลงค่า PCO2 เพิ่มขึ้นเกิดจากการแลกเปลี่ยน O2 ลดลงทำให้ CO2 เข้าปอดได้ดีกว่าทำให้ PCO2 สูงขึ้น ทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจตอนบน ร่างกายจะตอบสนองเอง ไม่ต้องให้ไบคาร์บอเนต
4. Respiratory alkalosis เกิดจากการหายใจลึกและถี่ผิดธรรมดาเรียกว่า hyperventilation ซึ่งอาจจะถูกกระตุ้นโดยภาวะ hypoxemia ทำให้ PCO2 ในเลือดลดลง และ pH สูงผิดปกติทำให้ซึม หัวใจเต้นเร็ว ไม่เป็นจังหวะ
5. Mixed acid-base imbalances เกิดจากร่างกายมีภาวะเสียสมดุลกรด-ด่างแบบปฐมภูมิหลายอย่างร่วมกัน ทั้งเกิดจากภาวะผิดปกติ metabolic acidosis และ metabolic alkalosis แบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสองแบบ ร่วมกับภาวะผิดปกติจากการหายใจทั้งที่มีกรดหรือด่างสะสมมากกว่าปกติ

การวัดความผิดปกติของสมดุลกรด-ด่างด้วยไบคาร์บอเนต
ปริมาณไบคาร์บอเนตหรือคาร์บอนไดออกไซด์รวม (TCO2) เป็นค่าที่ใช้ประเมินความเข้มข้นของไบคาร์บอเนตในร่างกาย ปกติแล้วความเข้มข้นของไบคาร์บอเนตจะใกล้เคียงกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ตรวจวัดได้คือประมาณ 95 % เมื่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์รวมเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้ความเข้มข้นของคาร์บอเนตไอออนเปลี่ยนตามไปด้วย จึงใช้ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงสมดุลกรด-ด่าง ที่เปลี่ยนแปลงทางเมตตาบอลิซึมในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ช่วงค่าความเข้มข้นไบคาร์บอเนตและคาร์บอนไดออกไซด์รวมของโคปกติคือ 17-29 และ 21-34 mmol/L เมื่อความเข้มข้นของไบคาร์บอเนตและคาร์บอนไดออกไซด์รวมลดลงจะทำให้ความผิดปกติของ metabolic acidosis รุนแรงเพิ่มขึ้น และความเข้มข้นของไบคาร์บอเนตและคาร์บอนไดออกไซด์รวมเพิ่มขึ้นในรายที่เป็น metabolic alkalosis

Anion Gap
Anion gap (mmol/L)= (Na+K)-(Cl+HCO3)
ค่า Anion gap สะท้อนถึงค่าการเปลี่ยนแปลงของอิเลกโทรไลต์ในร่างกายแต่การแปลผลมีความคลาดเคลื่อนได้ (13-20 mmole/l) ในกรณีที่สัตว์เกิดภาวะผิดปกติของเมตตาบอลิซึมที่ร่างกายมีกรดสะสมมากกว่าปกติ เนื่องจากสูญเสียไบคาร์บอเนตและมักร่วมกับโซเดียมไอออน ค่า anion gap จะไม่เปลี่ยนแปลง ถ้ากรดแลกติคสะสมมากกว่าปกติ anion gap จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากไบคาร์บอเนตลดลงแต่คลอไรด์คงที่ ยังพบ anion gap สูงในรายที่เกิดภาวะช็อคจากของเหลวในเลือดต่ำ





เอกสารอ้างอิง

กัลยา เจือจันทร์. 2541. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง ภาวะทางระบบทั่วไป. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. หน้า 47-65
อนันตชัย ชัยยศวิทยากุล. ไม่ระบุปี. อายุรศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Carlson, G.P. 1990. Clinical chemistry test. In: Smith, B.P. (ed.) Large Animal Internal Medicine. 1st editions. Mosby,Inc. A Hartcourt Health Sciences. St. Louis. pp.398-412
Morag, G.K. 2002. Veterinary Laboratory Medicine. 2nd edition. Blackwell Science. London. pp. 81-90 ฟ

Thursday, April 18, 2013

การจดทะเบียนรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG


การจดทะเบียนรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG

ที่มา : quikfitthailand.com , thaigascar.com

จดทะเบียนรถรถติดตั้งแก๊สที่กรมการขนส่งทางบก ,แจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิง รถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG


แจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิง การจดทะเบียน รถติดตั้งแก๊ส


หลังจากติดตั้งแก๊สรถยนต์ LPG หรือ CNG เสร็จแล้ว จะต้องไปแจ้งแก้ไขชนิดเชื้อเพลิงในสมุดคู่มือทะเบียนรถให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะครับ (จดทะเบียนรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ CNG)

โดยสามารถยื่นเรื่องที่ กรมการขนส่งทางบก หรือสํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปทั้งหมด

ขั้นตอนการจดทะเบียนรถใช้แก๊ส

1.ทำการนำเอกสารที่อู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์มอบให้ ประกอบด้วยใบวิศวะจากผู้ตรวจและหนังสือ ตต.09 จากอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์
2.ทำการเตรียมสำเนาบัตรประชาชนและหนังสือเล่มทะเบียนรถ (ใช้สำเนาเล่มทะเบียนรถแทนได้) ไปด้วย
3.ในการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ผู้แจ้งจะต้องมีชื่อเป็นผู้ครอบครอง ตามหนังสือเล่มทะเบียนรถ (หากเจ้าของรถไม่สะดวกหรือรถยังติดไฟแนนซ์อยู่ให้ทำหน้งสือมอบอำนาจไป)
4.ในกรณีรถยังติดไฟแนนซ์ แต่เรามีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถ สามารถทำการจดทะเบียนได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งไฟแนนซ์ เพราะทุกๆรอบการต่อภาษีรถยนต์ ไฟแนนซ์จะทำการอัพเดทลงเล่มทะเบียนให้เอง
5.ไปที่กรมการขนส่งทางบก พื้นที่ใดก็ได้ แล้วทำการขอเอกสาร “แบบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ” จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
6.ทำการติ๊กถูกในช่อง “เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงเป็น” แล้วกรอกเพิ่มเติมว่า
- 1.ในกรณีที่ติดแก๊ส LPGให้ลง “ก๊าซปิโตรเลียมเหลว”
- 2.ในกรณีที่ติดแก๊ส NGVให้ลง “ก๊าซธรรมชาติอัด”
7.ในช่อง “พร้อมนี้ได้ทำการแนบหลักฐานประกอบคำขอ” ให้ทำการกรอกเพิ่มดังนี้
- 1.หนังสือรับรองจากผู้ติดตั้งและวิศวกร
- 2.สำเนาบัตรประชาชน
- 3.ใบคู่มือจดทะเบียน
8.นำรถไปตรวจสภาพในช่องตรวจสภาพรถ
9.ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสภาพการติดแก๊ส และขูดหมายเลขตัวถังรถ
10.เจ้าหน้าที่ทำการขูดหมายเลขถังแก๊ส
11.เจ้าหน้าที่ทำการกรอกข้อมูลลงในเอกสารและคอมพิวเตอร์ ให้เรานั่งรอรับเอกสาร
12.ทำการชำระเงินค่าจดทะเบียน 125 บาท เจ้าหน้าที่จะทำการลงข้อมูลในเล่มให้ เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมด

**หมายเหตุ 
- ควรทำการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ภายใน 15 วัน ตามวันที่ของหนังสือรับรอง ไม่เช่นนั้น หากเลยกำหนด จะโดนค่าปรับ 200 บาท ในกรณีแจ้งช้าครับ
- สำเนาทุกใบทั้งของวิศวกรผู้ตรวจและเจ้าของรถ ต้องมีลายเซนต์สำเนาถูกต้องของแต่ละคนกำกับด้วย (แยกของใครของมัน ไม่ใช่มีทั้งสองคนทุกใบนะครับ)

Monday, April 15, 2013

สรีรวิทยาการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในหัวใจ

สรีรวิทยาการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในหัวใจ(Cardiac action potential)



     
by Doctor Heart
http://www.perfectheart.co.th/th_knowledge36.html


          cardiac action potential เป็นปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าภายในและภายนอกเซลล์ของหัวใจ อันเป็นผลจากการไหลเข้าออกของประจุไฟฟ้า โดยเฉพาะโซเดียมไอออน, โปแตสเซียมไออน และแคลเซียมไอออน ผลที่ตามมาคือ มีการหดตัวของ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
          ในภาวะปกติ เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจจะมีประจุไฟฟ้า ที่ผนัง membrane เป็นลบ (negative membrane potential) เมื่อมีการสั่งการทำงานจากระบบประสาทอัตโนมัติ จะทำให้มีการเพิ่มของประจุแคลเซียมไอออนภายในเซลล์ ทำให้มีการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
โดยกลไกการเกิดแคลเซียมภายในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะแตกต่างจากเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ
          กล่าวคือ ในกรณีของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ  เมื่อถูกกระตุ้นจากเส้นใยประสาท somatic motor axon จะทำให้โซเดียมไอออนเข้าสู่เซลล์ อย่างรวดเร็ว เกิดกระบวนการ depolarization ภายในเซลล์ และเป็นผลให้มีการกระตุ้นการหลั่งของแคลเซียมไอออนจาก sarcoplasmic reticulumภายในเซลล์



         ส่วนในกรณีของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะมีส่วนที่เรียกว่า voltage-gated calcium channels บนผนังเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (sarcolemma) เมื่อถูกกระตุ้นจะทำให้เกิด depolarization โดยมีการไหลเข้า ของโซเดียมไอออน (sodium influx)ซึ่งตรงกับ phase 0 action potential จะทำให้ voltage-gated calcium channels* เปิดเป็นผลให้ แคลเซียมไอออนไหล(influx)เข้าไปในเซลล์ ซึ่งกระบวนการเกิด calcium influx นี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของแคลเซียมไอออนจาก sarcoplasmic reticulum(ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า calcium-induced calcium release) และเมื่อมีปริมาณ ประจุแคลเซียมไอออนอิสระ ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น ก็จะกระตุ้นให้ actin-myosinทำงาน ทำให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ในที่สุด
         หลังจากที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัวแล้ว ก็จะมีช่วงdelay (absolute refractory period) และหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการ repolarization โดย potassium channels จะเปิดออก เป็นผลให้ โปแตสเซียมไอออนออกจากเซลล์ ทำให้เซลล์กลับเข้าสู่ resing state อีกครั้ง
หมายเหตุ *voltage-gated calcium channels จะมี 2 ชนิดคือ
-L-type channels จะตอบสนองต่อ membrane potentials ที่สูงกว่า แต่จะเปิดช้ากว่า และเปิดนานกว่า T-type channels จึงมีความสำคัญในการคงสภาวะ action potentials(sustaining an action potential)
-T-type channnels มีความสำคัญในช่วงแรกของการกระตุ้นให้เกิด action potential เนื่องจากคุณสมบัติที่เปิดได้เร็ว ซึ่งมักพบได้ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่เกี่ยวกับจังหวะการกระตุ้นทางไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งก็คือ pacemaker cells นั่นเอง(sinoatrial node, atrioventricular node)
PHASES OF CARDIAC ACTION POTENTIAL
โดยปกติ action potential ของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ จะมีรูปร่างไม่เหมือนกันดังรูป แต่แบบที่ทั่วไปมักนำมาใช้ในการอธิบาย cardiac action potential ได้แก่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง
Phase4 resting membrane potential 
        เป็นระยะปกติของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ก่อนที่จะถูกกระตุ้นทางไฟฟ้า ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นมาจากเซลล์ที่ติดกัน(และในกรณีของ pacemaker cells จะสามารถมี spontaneous depolarization ได้โดยไม่ต้องถูกกระตุ้นจากเซลล์ข้างเคียง) phaseนี้จะตรงกับ ช่วงกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัว (diastole)
        ค่าปกติของสถานะนี้คือ -85 to -95 mV ซึ่งประจุไฟฟ้าที่สำคัญ ภายในเซลล์คือ โปแตสเซียมไอออน ขณะที่ภายนอกเซลล์จะมี โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนเป็นหลัก ซึ่งการที่เซลล์คงสภาพอยู่ได้ก็โดยอาศัย sodium-potassium pump(Na+/K+-ATPase)ทำหน้าที่ปั๊มโซเดียมไอออนออกจากเซลล์ และปั๊มโปแตสเซียมไอออนเข้าไปในเซลล์ โดยกระบวนการ active transport ซึ่งต้องใช้พลังงานจาก ATP
Phase0 rapid depolarization phase
เป็นช่วงที่เกิด depolarization ของเซลล์ โดยจะมีการเปิด fast Na+channel ทำให้โซเดียมไอออนไหลเข้าเซลล์อย่างรวดเร็ว ตรงกับกราฟ ช่วงขาขึ้นชันของ action potential

Phase1 action potential
จะมีการปิดของ fast Na+channel และมีการเคลื่อนออกจากเซลล์ของโปแตสเซียมไอออน ทำให้กราฟช่วงนี้จะเป็นเส้นที่ต่ำลงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับ peak ของ phase 0

Phase2 plateau phase

เกิดจากสมดุลย์ของประจุที่เกิดจากแคลเซียมไอออนเข้าเซลล์ทาง voltage-gated calcium channels และโปแตสเซียมไอออน ออกจากเซลล์ ผ่านทาง slowed delayed rectifier potassium channels ซึ่งในช่วงนี้ sodium-potassium pump จะมีบทบาทการทำงานน้อย

Phase3 action potential

voltage-gated calcium channelsจะปิด ในขณะที่ slowed delayed rectifier potassium channels ยังคงเปิดอยู่ ทำให้ศักย์ไฟฟ้าในเซลล์เริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นผลให้เซลล์เริ่ม repolarize จนเมื่อ membrane potential กลับมาอยู่ที่ประมาณ -80 to -85 mV delayed rectifier K+ channels จะปิด

หมายเหตุ แคลเซียมไอออนภายในเซลล์จะมีกระบวนการดูดกลับเข้าไปใน sarcoplasmic reticulum ดังเดิม ที่เราเรียกว่า re-uptake โดยการทำงานของ sarcoplasmic calcium ATPase pump

Sunday, April 14, 2013

มารยาทที่สำคัญเวลาต้องไปพักที่โรงแรม by Rosa Songtanin


มารยาทที่สำคัญเวลาต้องไปพักที่โรงแรม

Posted August 14th, 2011 in มารยาทสังคม by rosa
โรงแรมเป็นสถานที่ ที่รวมนักท่องเที่ยวจากต่างๆนาๆ เราควรจะรักษาท่าทีอันสง่างามเพื่อเป็นเกรียติกับชาติตระกูล และประเทศชาติของเราเอาไว้
ธรรมเนียมปฎิบัติที่งดงามมีตัวอย่างดังนี้
  1. ไม่ควรทำเสียงดังหรือร้องรำทำเพลงไปทั่ว ยกเว้นแต่เป็นบังกะโลส่วนตัวจริงๆ  ซึ่งเราควรจะนึกถึงความสงบของห้องข้างเคียงด้วย
  2. ผ้าขนหนูในห้องน้ำ จะมีไซส์มาตรฐานอยู่  3 ผืน คือ เล็ก กลาง และใหญ่  ผืนที่เล็กที่สุดนั้น มีขนาดประมาณผ้าเช็ดหน้า  ผืนนี้ไว้ใช้ถูตัวตอนอาบน้ำ หรือ เช็ดทำความสะอาดอ่างล้างหน้าเมื่อเสร็จธุระ (ในกรณีที่คุณแชร์ห้องพัก คุณควรจะเช็ดอ่างอาบน้ำให้สะอาด เหมือนใหม่ด้วย)  ผืนขนาดกลางมีไว้เช็ดหน้าหรือไว้คลุมผม   ส่วนผืนใหญ่ที่สุดไว้สำหรับเช็ดตัวหรือจะใช้ห่อตัวเมื่อคุณอาบน้ำเสร็จก็ได้
  3. เวลาอาบน้ำให้ปิดม่านทุกครั้ง โดยที่ปลายของตัวม่านจะต้องอยู่ในอ่าง เพื่อไม่ให้น้ำกระเด็นกระดอนออกมาด้านนอก
  4. โรงแรมจะมีสมุดไดเร็ททอรี่ และ เอกสารแนะนำโรงแรมรวมถึงสถานที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ และมีประโยชน์ในยามฉุกเฉิน ส่วนมากจะเป็นแฟ้มอยู่บนโต๊ะทำงาน หรือข้างหัวเตียง  คุณสามารถหยิบมาดูได้ และหากมี postcard  กระดาษจดหมาย ซองจดหมาย และปากกา ที่คุณรู้สึกชอบคุณก็สามารถติดตัวกลับบ้านเป็นของที่ระลึกได้  ส่วนของอย่างอื่น เช่น ผ้าขนหนู เสื้อคลุม ไม้แขวนเสื้อ ฯลฯ หากทางโรงแรมไม่ได้เขียนว่าให้คุณ  แปลว่าคุณต้องชำระเงิน หากนำติดตัวมาค่ะ
  5. โรงแรมส่วนใหญ่จะมีน้ำเปล่าบริการ (ส่วนมากจะมีกระดาษแนบอยู่ และมีตัวภาษาอังกฤษว่า Complimentary) หากคุณอยู่มากกว่าหนึ่งคืนและคุณต้องการน้ำเพิ่ม คุณสามารถโทรไปที่ห้อง maid เพื่อขอน้ำเปล่าบริการเพิ่มได้ค่ะ
  6. เมื่อออกจากห้องให้นำกุญแจออกจากห้องติดตัวไปเสมอ  โรงแรมส่วนใหญ่จะมีบริการรับฝากกุญแจไว้คอยบริการเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะทำหาย
  7. ของใช้ส่วนตัว ควรจะพับเก็บให้เรียบร้อย แม้จะมีพนักงานคอยดูแลทำความสะอาดก็ควรจะพับเอง
  8. การให้ทิปก็เป็นความรู้อย่างหนึ่งเหมือนกัน หากให้มากเกินไปก็จะเป็นภาระของผู้ใหญ่  น้อยไปก็จะถูกเยาะเย้ยลับหลัง  โดยทั่วไปเงินค่าทิปจะคิดเป็น  1  %  ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะเหมาะสมที่สุด  ซึ่งเราสามารถวางไว้ที่บนเตียงนอนได้
สุดท้าย  คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดี และมีมารยาทงาม เวลาเข้าพักในโรงแรมก็จะใช้ไฟ ใช้น้ำอย่างประหยัด  เหมือนอยู่ในบ้านของตนเอง